top of page
ค้นหา
  • รูปภาพนักเขียนVoyage to the Source

Johari Window

อัปเดตเมื่อ 6 พ.ค. 2563

"หน้าต่างแห่งความเข้าใจตนเอง"

Johari Window เป็นเครื่องมือที่พัฒนาในปี 1955โดยนักจิตวิทยาสองท่านคือ Joseph Luft (1916–2014) and Harrington Ingham (1914–1995)


พื้นฐานของ Johari Window เริ่มจากแบ่งตารางออกเป็นสี่ช่อง (ตามรูป) ดังนี้

1.Open Area (Arena) ตำแหน่งอยู่มุมบนซ้าย ด้านนี้ทั้งตัวคุณเองและคนอื่นเห็นตรงกันว่าเป็นตัวคุณ (ตัวคุณในที่นี้ครอบคลุมถึงพฤติกรรม ความคิดความอ่าน ทัศนคติ ฯลฯ) ถ้าเปรียบกับจิตวิทยาสายคาร์ลยุง เรียกว่า Persona


2.Blind Area (Blind Spot) ตำแหน่งอยู่มุมบนขวา ด้านนี้ก็คือตัวคุณเช่นกันที่คุณไม่รู้ตัวหรือปฏิเสธมันแต่คนอื่นรับรู้ด้านนี้ของคุณได้ อันนี้บางทีมันก็ยากที่จะยอมรับ ถ้าเปรียบกับจิตวิทยาสายคาร์ลยุง เรียกว่า Shadow


3.Hidden Area (Facade) ตำแหน่งอยู่ล่างซ้าย ด้านนี้คุณรู้อยู่แก่ใจตัวเองดีแต่ไม่ได้เปิดเผยให้คนภายนอกได้รับรู้ หรืออาจเรียกว่าด้านดาร์คในตัวเราก็ได้


4.Unknown Area (Unknown) ตำแหน่งล่างขวา ด้านนี้อาจเป็นดินแดนลึกลับที่ทั้งตัวคุณเองและผู้อื่น ซึ่งมันอาจเป็นด้านที่เราไม่เคยใช้ ด้านที่เราไม่เคยรับรู้ หรืออาจละเลยด้านนี้ไปเลยในตลอดชีวิตที่ผ่านมา


เป้าหมายของ Johari Window คือขยาย Open Area (Arena) ให้ใหญ่ขึ้น โดยใช้วิธีการดังนี้

1.Ask for Feedback การถามให้ผู้อื่นสะท้อนความเป็นตัวเรา แต่คงต้องแน่ใจก่อนว่าคนๆนั้นรู้จักเราดีพอ และหวังดีต่อเราจริงๆ (อาจเป็นครอบครัว หรือเพื่อน) อย่าคิดว่าเรารู้ไปหมดทุกอย่างแล้ว แต่บางทีการรับฟีดแบ็คก็เหมือนกับการโดนตัดสิน (Judge) โดยผู้อื่นเหมือนกัน ซึ่งส่วนใหญ่ไม่ค่อยมีใครชอบ


2.Self-Disclosure (การเปิดเผยเรื่องราวส่วนตัว) การที่เราเปิดเผยถึงควมคิด ความรู้สึก ความฝัน หรือเป้าหมายส่วนตัว ซึ่งการทำเช่นนี้เชื่อว่าจะสร้างความน่าเชื่อถือ(Trust)ได้ดี แต่บางทีการเปิดเผยเรื่องราวภายในมากเกินไปก็อาจทำให้คุณสูญเสียการยอมรับนับถือได้เหมือนกัน


3.Self-Discovery เมื่อคุณเริ่มแบ่งปันเรื่องราวลึกๆส่วนตัวของคุณกับผู้อื่นได้แล้วมันก็เป็นโอกาสที่ดีที่คุณจะค้นลึกไปในตัวเองได้มากขึ้น เชื่อกันว่ายิ่งคุณแบ่งปันเรื่องราวลึกๆของตัวเองกับผู้อื่นได้มากขึ้นเท่าไรพื้นที่ในการที่คุณจะเข้าใจตัวเองก็จะมากขึ้นเท่านั้น


4.Others' Observation การที่มีกัลยาณมิตรพูดความจริงเกี่ยวกับตัวคุณมันก็ยากลำบากที่จะยอมรับ แต่การที่คุณเข้าใจในสิ่งที่คนอื่นมองว่าคุณเป็นเช่นไรมันก็อาจทำให้คุณมองสิ่งต่างๆรอบตัวคุณเปลี่ยนไปก็ได้


5.Shared Discovery การใช้พลังกลุ่มจากวงคุยของเหล่ากัลยาณมิตร อาจก่อให้เกิดปัญญาญาณร่วมกันขึ้นมาได้


หมายเหตุ

คนที่มี Open Area ขนาดใหญ่น่าจะเป็นคนเปิดเผย พูดคุยด้วยง่าย เพราะมีความน่าไว้วางใจ ในขณะที่คนมี Open Area ขนาดเล็กจะเป็นคนที่คุยด้วยได้ยากกว่า เพราะอาจจะค่อนข้างปิดตัวเอง

คนที่มี Blind Area กว้างขวางอาจจะสร้างปัญหาให้กับผู้อื่นได้มาก ขัดแย้งกับผู้อื่นบ่อยๆ เพราะเขาอาจจะมี Self-Esteem ต่ำ

การใช้งาน Johari Window อาจเริ่มโดยใช้คำคุณศัพท์ต่างๆ 56 คำ ให้คุณและคนอื่นลองเติมคำไปในช่องต่างๆ ดูได้จาก http://www.scribd.com/doc/45907658/Johari-Adjectives


งานเขียนชิ้นนี้ได้รับแรงบันดาลใจจากโพสของครูเจมี่ https://www.facebook.com/photo.php?fbid=864682423629806&set=gm.725882910871118&&theater


แหล่งข้อมูล

ดู 24 ครั้ง0 ความคิดเห็น
bottom of page